หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

การประชุมคณะรัฐมนตรี

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

-1.ปฎิทินและเกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.ปี 2558

3.เครื่องแบบพนักงานราชการ  2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557 

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว 
โดย สมศ.

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ล่าสุด




 ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


   คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557-2558 


การประชุมคณะรัฐมนตรี

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 มกราคม 2558



http://www.thaigov.go.th

                วันนี้ (20 มกราคม 2558) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล         พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี   เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี
                ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี        พร้อมด้วย  พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี   สรุปสาระสำคัญดังนี้



กฎหมาย

        1.     เรื่อง         ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.. ….
        2.     เรื่อง         ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                         หมู่บ้านจอมบึง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
        3.     เรื่อง         ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำโรง                             เหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลบางแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี                     จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ....
        4.     เรื่อง         ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และ                          ด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
        5.     เรื่อง         ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์                         พุทธศักราช 2579 (กำหนดให้ชุดกุญแจมือและกุญแจเท้าเป็นเครื่องพันธนาการ                           อีกประเภทหนึ่ง)
        6.     เรื่อง         ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                        สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....



เศรษฐกิจ – สังคม
        7.     เรื่อง         การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครทหารพราน
        8.     เรื่อง         ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2559
        9.     เรื่อง         รายละเอียดเกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่จาก                            การสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม
        10.   เรื่อง         การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและ                               บริการ พ.ศ. 2542
        11.   เรื่อง                       สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติครั้งที่ 1/2558               
        12.   เรื่อง         การดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
        13.   เรื่อง         การใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ในการป้องกันการทุจริตเป็นโครงการ                  นำร่อง






ต่างประเทศ
        14.   เรื่อง         การจัดทำความร่วมมือทวิภาคี Joint Crediting Mechanism (JCM) กับ
                        ประเทศญี่ปุ่น
        15.   เรื่อง         ขออนุมัติการจัดทำและลงนามความตกลงการจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาค                             สำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพด้านการ                       ท่องเที่ยวอาเซียน
        16.   เรื่อง         บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองปากซอง  แขวงจำปาสัก                            สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
        17.   เรื่อง         การสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี                 เพื่อผลักดันการค้าชายแดนไทย - เมียนมา ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด                            จังหวัดตาก
        18.   เรื่อง         ขออนุมัติร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (JC)
                        ไทย ลาว ครั้งที่ 19



แต่งตั้ง
       
        19.   เรื่อง         รัฐบาลรัฐปาเลสไตสน์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
        20.   เรื่อง         รัฐบาลสาธารณรัฐปานามาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
        21.   เรื่อง         การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
        22.   เรื่อง         แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน
        23.   เรื่อง         การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
        24.   เรื่อง         แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร                               สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
        25.   เรื่อง         แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร                               และสหกรณ์ (นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร)
        26.   เรื่อง         คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)

******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396




กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.. ….
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.. …. ตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                1. กำหนดให้รัฐมีอำนาจพัฒนาทรัพยากรน้ำ โดยเปลี่ยนรูปร่างของแหล่งน้ำหรือขยายพื้นที่ของแหล่งน้ำ
                2. กำหนดให้บุคคลมีสิทธิใช้น้ำได้เท่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ในกิจกรรมหรือในที่ดินของตน หรือเก็บกักน้ำได้เท่าที่ไม่เป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
                3. กำหนดให้มี คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า กนช.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ  คนที่สอง ปลัดกระทรวงและอธิบดี ผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคเอกชน เป็นกรรมการ โดยให้ กนช. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามที่กำหนด และให้กรมทรัพยากรน้ำ   ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ กนช.
                4. กำหนดให้การกำหนดลุ่มน้ำให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ กนช. แต่งตั้ง คณะกรรมการ  ลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตลุ่มน้ำนั้น ผู้แทนหน่วยงาน   ของรัฐ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำนั้น ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ
                5. กำหนดให้บุคคลซึ่งใช้น้ำในบริเวณใกล้เคียงและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันมีสิทธิรวมตัวก่อ        ตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อประโยชน์ในการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
                6. กำหนดให้การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1 เพื่อ      การดำรงชีพฯ ประเภทที่ 2 เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมฯ ประเภทที่ 3 เพื่อกิจการขนาดใหญ่ฯ และให้     การอนุญาตการใช้น้ำเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด
                7. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งเกี่ยวกับ         การประกาศกำหนดเขตภาวะน้ำแล้งหรือภาวะน้ำแล้งฉุกเฉิน การจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และกำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขภาวะดังกล่าว เป็นต้น
                8. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม การจัดทำระบบเตือนภัย และกำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขภาวะดังกล่าว เป็นต้น
                9. กำหนดให้มีการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ โดยการกำหนดให้แหล่ง    ต้นน้ำลำธารเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ การออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์ การคุ้มครอง หรือพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ การห้ามทิ้ง หรือระบายสิ่งใด ๆ ที่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ
                10. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้ามีอำนาจในการควบคุมและการตรวจตราทรัพยากรน้ำ และกำหนดความรับผิดทางอาญาและความรับผิดทางแพ่งในกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ




2.  เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ   เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (ฉบับที่ ..)    พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
               สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชา ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เพิ่มขึ้น

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลบางแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลบางแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่งและให้ดำเนินการต่อไปได้
                คค. เสนอรายงานของกรมทางหลวงชนบทว่า
                1. เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ขยายทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3344 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 ในท้องที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลบางแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างขยายถนนเดิม จาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ผิวจราจรลาดยางกว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทาง/ช่องจอดรถกว้าง 0.0 – 3.0 เมตร เกาะกลางแบบเกาะสีกว้าง 1.0 เมตร (สำหรับช่วงเขตทาง 24.00 เมตร) เกาะกลางแบบเกาะยกกว้าง 1.0 – 4.5 เมตร (สำหรับช่วงเขตทาง 30.00 เมตร) ทางเท้าขนาด 2.50 เมตร มีระบบระบายน้ำสองข้างทางและไฟฟ้าแสงสว่างตลาดสายทาง มีระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 8.193 กิโลเมตร ในการนี้ สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน โดยมีทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนตามแนวเส้นทางประกอบด้วยที่ดินที่จะต้องถูกเวนคืนประมาณ 160,000 ตารางเมตร อาคารและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 172 หลัง
                2. โครงการดังกล่าวข้อ 1. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการก่อสร้างดังกล่าวแล้ว
               สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฏีกา
                กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3344 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 ในท้องที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีส่วนแคบที่สุดสองร้อยเมตร และส่วนที่กว้างที่สุดห้าร้อยเมตร

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   กค. เสนอว่า ด่านศุลกากรวังประจัน หลักกิโลเมตรที่ 22 ของทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4184 หมู่ที่ 4 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนติดกับด่านศุลกากรวังเกลียน รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ในปัจจุบันด่านศุลกากรวังประจัน ไม่สามารถปฏิบัติพิธีการส่งออกซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้าหรือของที่มีทัณฑ์บนตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้ ทำให้เกิดความไม่สะดวกทางการค้าในบริเวณดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร 2553 เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   กำหนดท่าเรือที่ เขตศุลกากร ลักษณะการที่ให้กระทำ ทางอนุมัติ ด่านพรมแดนของด่านศุลกากรวังประจันหลักกิโลเมตรที่ 22 ของทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4184 หมู่ที่ 4 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล โดยเลิกความในลำดับที่ 26 ของข้อ 2 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้

กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2553
ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ขอแก้ไข
ลักษณะการที่ให้กระทำ
ประเภทของ
ลักษณะการที่ให้กระทำ
ประเภทของ
1. นำของเข้า
2. ส่งของออก
1.ของทุกประเภท
2.ของทุกปะเภท
1. นำของเข้า
2. ส่งของออก
3. ส่งออกซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้าหรือของที่มีทัณฑ์บน
1.ของบทุกประเภท
2.ของทุกประเภท
3.ของทุกประเภท

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2579 (กำหนดให้ชุดกุญแจมือและกุญแจเท้าเป็นเครื่องพันธนาการอีกประเภทหนึ่ง)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2579 (กำหนดให้ชุดกุญแจมือและกุญแจเท้าเป็นเครื่องพันธนาการ     อีกประเภทหนึ่ง) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                ยธ.เสนอว่า
                เนื่องจากภารกิจด้านการควบคุมผู้ต้องขังและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นพลเมืองดีไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ เจ้าหน้าที่เรือนจำและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมาย คือพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงเป็นเครื่องมือในการดำเนินการแต่โดยที่กฎกระทรวงซึ่งได้กำหนดประเภทของเครื่องพันธนาการและการใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังเดิมยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เครื่องพันธนาการที่จะนำมาใช้กับผู้ต้องขังมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดเพิ่มเติมให้ชุดกุญแจมือและกุญแจเท้าเป็นเครื่องพันธนาการอีกประเภทหนึ่งเพื่อให้มีความเหมาะสมชัดเจนและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                กำหนดเพิ่มเติมให้ชุดกุญแจมือและกุญแจเท้าเป็นเครื่องพันธนาการอีกประเภทหนึ่ง โดยมีรูปแบบ และขนาด ตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด และกำหนดวิธีการใช้เครื่องพันธนาการดังกล่าว เพื่อให้       เจ้าพนักงานเรือนจำสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ต้องขัง

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปยังสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

กฎกระทรวงเดิม
กฎกระทรวงใหม่
1. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
1. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
2. กลุ่มตรวจสอบภายใน
2. กลุ่มตรวจสอบภายใน
3. สำนักงานเลขานุการกรม
3. สำนักงานเลขานุการกรม
4. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
4. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
5. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
5. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
6. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
6. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
7. กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
7. กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

8. สำนักกฎหมายและคดี
8. กองกฎหมายและคดี
9. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
9. สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค
10. สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค



เศรษฐกิจ – สังคม

7. เรื่อง การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครทหารพราน
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบการปรับเพิ่มอัตราเงินค่าเบี้ยเลี้ยงสนามของอาสาสมัครทหารพรานจากจำนวน 120 บาทต่อคนต่อวัน เป็นจำนวน 200 บาทต่อคนต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558
                2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาการทำหน้าที่เงินเดือนและค่าตอบแทนอย่างอื่น สิทธิประโยชน์ ระเบียบและวินัยของบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                3. ให้กระทรวงกลาโหมปรับปรุงวิธีการคำนวณเงินช่วยเหลือโดยให้นำเวลาทำงานทวีคูณมาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณ โดยให้แก้ไขอนุบัญญัติที่รองรับต่อร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 เพื่อขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
                ทั้งนี้ กรอบวงเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินช่วยเหลือดังกล่าวให้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
                สาระสำคัญของเรื่อง
              กห. เสนอว่า
                1. อาสาสมัครทหารพราน จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2521 มีบทบาทและหน้าที่ทดแทนกำลังรบหลักในการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ปัจจุบันได้รับการบรรจุเพื่อปฏิบัติงานตามแผนงานรักษาความมั่นคงภายใน โดยให้มีหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจป้องกันและปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การป้องกันและปราบปรามการค้าอาวุธสงครามและสิ่งผิดกฎหมายตามแนวชายแดน การสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การป้องกันและปราบปรามผู้ลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านตามแนวชายแดน การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด อาสาสมัครทหารพรานจึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญต่อกองทัพที่ต้องรักษาไว้ เนื่องจากเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างจากบุคลากรประเภทอื่น ที่สามารถบรรจุและปฏิบัติงานได้ทันทีจึงจำเป็นต้องต่อสัญญาจ้างต่อเนื่องไปจนครบระยะเวลาที่กำหนดที่อายุ 60 ปี หรือ 45 ปี ปัจจุบันได้มีการบรรจุอาสาสมัครทหารพราน จำนวน 23,227 นาย แบ่งเป็น กองทัพบก จำนวน 21,118 นาย และกองทัพเรือ จำนวน 2,109 นาย
                2. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 บัญญัติให้อาสาสมัครทหารพรานเป็นบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว และได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาการทำหน้าที่ เงินเดือนและค่าตอบแทนอย่างอื่นสิทธิประโยชน์ ระเบียบและวินัยของบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2553 โดยกำหนดเงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน ทั้งนี้ กห. ได้ออกระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยหลักเกณฑ์การได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทนอย่างอื่นและสิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครทหารพราน พ.ศ. 2554 เพื่อรองรับต่อกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว
                3. สำหรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงสนามได้กำหนดไว้ในคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 411/2554 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ในอัตรา 120 บาทต่อคนต่อวัน แต่ปัจจุบันค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับในการปฏิบัติภารกิจของอาสาสมัครทหารพรานที่ต้องประกอบกำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก มีการเคลื่อนย้ายกำลังโดยตลอด การประกอบเลี้ยงของชุดปฏิบัติการดังกล่าวจึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และภารกิจของอาสาสมัครทหารพรานที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง หากเปรียบเทียบกับการได้รับเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของข้าราชการหรือลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงาน จะเห็นได้ว่าข้าราชการหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต่อเนื่อง (วันทำการไม่เกิน 4 ชั่วโมง วันหยุดราชการไม่เกิน 7 ชั่วโมง) จะได้รับเงินตอบแทนเฉลี่ยเดือนละ 7,760 บาท หรือวันละ 258 บาท ดังนั้น จึงสมควรปรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงสนามจากวันละ 120 บาทต่อคนเป็นวันละ 200 บาทต่อคน
                4. การกำหนดเงินช่วยเหลือรายเดือนเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากเงินช่วยเหลือ
                    4.1 ปัจจุบันอาสาสมัครทหารพรานที่ปฏิบัติงานจนครบ 5 ปีแล้วลาออก หรือ ผู้ที่ปฏิบัติงานมานานจนอายุครบตามที่ส่วนราชการกำหนด (60 ปี หรือ 45 ปี) จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเงินก้อนจ่ายครั้งเดียว โดยคำนวณจาก เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณเวลาทำงาน (ปี) ไม่รวมเวลาทำงานทวีคูณ
                  4.2 อาสาสมัครทหารพราน ซึ่งปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างคราวละ 4 ปี แต่ในการทำงานนั้นจะต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดารเสี่ยงอันตราย ที่ต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์โดยอาสาสมัครทหารพรานส่วนใหญ่จะทำงานต่อเนื่องจนครบอายุงานเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ดังนั้น ในการกำหนดสิทธิประโยชน์จึงสามารถเทียบเคียงกับลูกจ้างประจำ กล่าวคือลูกจ้างประจำเมื่อครบเกษียณอายุ 60 ปี สามารถเลือกรับบำเหน็จปกติ ซึ่งคำนวณจาก ค่าจ้างเดือนสุดท้าย คูณเวลาทำงาน (เดือน) รวมเวลาทำงานทวีคูณ หารสิบสองหรืออาจเลือกรับบำเหน็จรายเดือน ซึ่งคำนวณจาก ค่าจ้างเดือนสุดท้าย คูณเวลาทำงาน (เดือน) รวมเวลาทำงานทวีคูณหารสิบสอง หารห้าสิบ
                    4.3 กรณีของการนำเวลาทำงานทวีคูณมาคิดคำนวณเงินช่วยเหลือรายเดือนนั้น มีเหตุผลประกอบการพิจารณาดังนี้
                         4.3.1 พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ซึ่งกระทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดในระหว่างเวลาที่มีการรบหรือสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้นักดำเรือดำน้ำ ให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติการตามสั่งเป็นทวีคูณแม้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนั้นจะไม่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนก็ตาม
                         4.3.2 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 กำหนดให้ลูกจ้างประจำผู้ใดถูกสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดในระหว่างที่มีการรบ การสงคราม การปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ให้นับเวลาทำงานที่ปฏิบัติการตามสั่งนั้นเป็นทวีคูณได้
                               ลูกจ้างประจำผู้ใดประจำปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกให้นับเวลาทำงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณ
                         เมื่อพิจารณาลักษณะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพรานจึงสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักเกณฑ์ตามข้อ 4.1 และข้อ 4.2 ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผู้ที่ กห. สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแผนป้องกันประเทศที่มีความยากลำบากและเสี่ยงอันตรายอย่างแท้จริง อันก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตหรือพิการ ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เวลาทำงานดังกล่าวเป็นเวลาทวีคูณเพื่อใช้ในการคำนวณเงินช่วยเหลือรายเดือนและคำนวณเงินช่วยเหลือด้วย
                  4.4 กห. ได้พิจารณาแล้วสมควรกำหนดให้อาสาสมัครทหารพรานที่ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องมานานจนครบระยะเวลาที่กำหนด สามารถเลือกรับเงินช่วยเหลือ ดังนี้
                         4.4.1 เงินช่วยเหลือซึ่งคำนวณจากเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณเวลาทำงาน (ปี) รวมเวลาทำงานทวีคูณ หรือ
                         4.4.2 เงินช่วยเหลือรายเดือนซึ่งคำนวณจากเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณเวลาทำงาน (ปี) รวมเวลาทำงานทวีคูณ (รวมกันแล้วต้องไม่เกินห้าสิบปี) หารด้วยห้าสิบ ทั้งนี้ ให้ กห. แก้ไขกฎกระทรวง กำหนดระยะเวลาการทำหน้าที่ เงินเดือนและค่าตอบแทนอย่างอื่นสิทธิประโยชน์ ระเบียบและวินัยของบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2553 และปรับปรุงวิธีการคำนวณเงินช่วยเหลือ พร้อมทั้งกำหนดรายละเอียดการคำนวณเงินช่วยเหลือรายเดือนในระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยหลักเกณฑ์การได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทนอย่างอื่นและสิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครทหารพราน พ.ศ. 2554 รองรับต่อการปฏิบัติดังกล่าว โดยให้ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อให้ครอบคลุมต่ออาสาสมัครทหารพรานที่ครบกำหนดเวลาทำงานในปีงบประมาณ 2558

8. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2559
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ         พ.. 2559 ตามที่สำนักงานประมาณ (สงป.) เสนอ
                สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ฯ มีข้อสรุปดังนี้
              1. หลักการของยุทธศาสตร์
                    ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2559 ได้จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.. 2555 – 2559) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.. 2558 – 2564) และแผนแม่บทอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน ควบคู่กับการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อให้ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่งอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้นำหลักการและแนวทางการจัดทำงบประมาณ ในลักษณะ   บูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.. 2559 จำนวน 19 เรื่อง มาประกอบการพิจารณากำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และจุดเน้นของนโยบายการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐใช้ในการกำหนดลำดับความสำคัญการเสนอของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2559
                2. โครงสร้างของยุทธศาสตร์
                   ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2559 ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และ 1 รายการคือ
                        2.1 ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
                        2.2 ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ
                        2.3 ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
                        2.4 ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต
                        2.5 ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        2.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
                        2.7 ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                        2.8 ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                        2.9 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ

                3. ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (ตามข้อ 2.1) ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ที่เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.. 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจการเมือง และสังคม รวม 12 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
                        3.1 การเร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต
                        3.2 การสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนแก่เกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย
                        3.3 การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                        3.4 การพัฒนาและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ
                        3.5 การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
                        3.6 การส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
                        3.7 การพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
                        3.8 การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
                        3.9 การเร่งรัดประยุกต์ใช้งานวิจัยและพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ
                        3.10 การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                        3.11 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                        3.12 การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ

9. เรื่อง รายละเอียดเกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอ ดังนี้
                   1. ให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมทุกประเภท เช่น กรมแผนที่ทหาร กองทัพอากาศ กรมที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) เป็นต้น ร่วมกันหารือถึงปัญหาอุปสรรคที่ยังไม่สามารถให้บริการภาพถ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแนวทางการจัดนำระบบ เพื่อให้สามารถสืบค้นและให้บริการภาพในคลังข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                   2. ให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลภูมิสารสนเทศพิจารณาเปิดให้หน่วยงานเข้าถึงและใช้งานข้อมูลของหน่วยงาน โดยในปี 2558 ให้เริ่มจากการบูรณาการข้อมูลข้ามหน่วยงานใน 2 ประเด็น เพื่อเป็นการนำร่อง ได้แก่ 1.) การจัดการไฟป่าและหมอกควัน  2. การจัดการที่ดินในเขตป่าไม้ โดยให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกันกำหนดแนวปฏิบัติในการนำภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมไปใช้งานร่วมกันโดยให้ วท. สนับสนุนข้อมูลและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
                   3. ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาแนวทางการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2556 และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                   4. ให้ วท. ศึกษาและเสนอแนะนวัตกรรมรวมทั้งแนวทางการพัฒนาและการลงทุนในระบบสำรวจและประยุกต์ใช้งานภูมิสารเทศของประเทศ ที่บูรณาการการถ่ายภาพทางอากาศ การถ่ายภาพด้วยดาวเทียมสำรวจโลก การใช้งานระบบดาวเทียมนำทางและเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้งานภูมิสารสนเทศจากการสำรวจระยะไกลในภารกิจต่าง ๆ และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป




10. เรื่อง  การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ         พ.ศ. 2542
              คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดรายการสินค้าและบริการควบคุมปี 2558 จำนวน 43 รายการ ตามมติของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมสินค้าที่สำคัญ จำแนกเป็น 40 สินค้า 3 บริการ แบ่งเป็น 10 หมวดสินค้าและบริการ ได้แก่
1. หมวดอาหาร  จำนวน 14 รายการ คือ (1) กระเทียม (2) ข้าวเปลือก ข้าวสาร (3)
ข้าวโพด (4) มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ (5) ไข่ไก่ (6) สุกร เนื้อสุกร (7) น้ำตาลทราบ (8) น้ำมันและไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ (9) ครีมเทียมข้นหวาน นมข้น นมคืนรูป นมแปลงไขมัน (10) นมผง นมสด (11) แป้งสาลี (12) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  (13) อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก  (14) ผลปาล์มน้ำมัน
2.  หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน จำนวน 5 รายการ คือ (15) ผงซักฟอก (16)
ผ้าอนามัย (17) กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า (18) แชมพู (19) สบู่
3.  หมวดปัจจัยทางการเกษตร จำนวน 6 รายการ คือ (20) ปุ๋ย (21) ยาป้องกัน หรือ
กำจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช  (22) หัวอาหารสัตว์ (23) เครื่องสูบน้ำ (24) รถไถนา (25) รถเกี่ยวข้าว 
4.  หมวดวัสดุก่อสร้าง  จำนวน 3 รายการ คือ (26) ปูนซีเมนต์ (27) เหล็กเส้น เหล็ก
โครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น (28) สายไฟฟ้า (29) ท่อพีวีซี
5.  หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์  จำนวน 3 รายการ คือ (30) กระดาษทำลูกฟูก
กระดาษเหนียว  (31) กระดาษพิมพ์และเขียน (32) เยื่อกระดาษ
6.  หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง  จำนวน 3 รายการ  คือ (33) แบตเตอรี่รถยนต์ (34) ยาง
รถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ (35) รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก
7.  หมวดผลิตภัณธ์ปิโตรเลียม จำนวน 3 รายการ ได้แก่  (36) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(37) น้ำมันเชื้อเพลิง (38) เม็ดพลาสติก
8. หมวดยารักษาโรค  จำนวน 1 รายการ คือ (39) ยารักษาโรค
9. หมวดอื่น ๆ จำนวน 1 รายการ คือ (40) เครื่องแบบนักเรียน
10.      หมวดบริการ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ (41) การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์
เพลง เพื่อการค้า (42) บริการรับฝากสินค้าหรือบริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า (43) บริการทางการเกษตร

11. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2558               
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558 เสนอ  ดังนี้
                1. รับทราบการเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม ตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้าระหว่างประเทศ และการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ
                2. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มไตรมาสแรกของปี 2558 ที่ให้ปรับการใช้
ไบโอดีเซล และให้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบแยกไข (Crude Palm Olein) ปริมาณ  50,000 ตัน 
           สาระสำคัญของมติ กนป. มีดังนี้
           1. การเปิดตลาดน้ำมันปาล์มภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ
                น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม มีการผูกพันกรอบการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ กรอบองค์การการค้าโลก กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และกรอบเขตการค้า FTA ซึ่งที่ประชุม กนป. มีมติเห็นชอบ ดังนี้
                        (1) ให้เปิดตลาดนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ปี 2558 ตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้าระหว่างประเทศ
                        (2) ให้มีการบริหารการนำเข้าตามความตกลงทุกกรอบการค้าระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับกรอบ WTO คือ ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเป็นผู้จัดสรร
           2. แนวทางการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มไตรมาสแรกของ ของปี 2558 มีดังนี้
                         (1) เห็นชอบตามมติคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ที่ให้กระทรวงพลังงานปรับลดข้อกำหนดการใช้ไบโอดีเซล B100 ผสมในน้ำมันดีเซลจากไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 แต่ไม่เกินร้อยละ 7 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.5 แต่ไม่เกินร้อยละ 7 เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตพลังงานทดแทนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และให้กลับมาใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7 เมื่อพ้นวิกฤติขาดแคลนน้ำมันปาล์ม
(2) เห็นชอบให้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบแยกไข  (Crude Palm Olein) ในปริมาณจำกัด เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน และให้ดำเนินการนำเข้าในระยะเวลาที่สั้นและเร็วที่สุด โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าในปริมาณ 50,000 ตัน ให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เพื่อจำหน่ายให้แก่โรงกลั่นน้ำมันปาล์มผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชปาล์มบรรจุขวดในราคาไม่เกินลิตรละ 42 บาท ตามที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กำหนดไว้  พร้อมทั้งให้กระทรวงพาณิชย์จัดเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันได้รับราคาขายผลปาล์มน้ำมันไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5 บาท โดยให้โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม และโรงงานไบโอดีเซลรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 30 บาท ในช่วงเวลานำเข้าจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558
(3) ให้คณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ติดตามและบริหารจัดการสต็อกและราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทุก 2 สัปดาห์ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
3. การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ
      ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ         พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 10 ท่าน และมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี     นับแต่วันแต่งตั้ง ซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้หมดวาระแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2556 และอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือก แต่เนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจึงหยุดชะงักลง ซึ่ง
ที่ประชุม กนป. มีมติ ดังนี้
      (1) เห็นชอบให้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการ กนป. ดำเนินการต่อไป
      (2) มอบหมายฝ่ายเลขานุการ กนป. พิจารณาการเพิ่มเติมกรรมการ กนป. โดยตำแหน่งให้มีผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจากจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 5 แสนไร่

12. เรื่อง  การดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
2. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ
คุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องิ่นไทยดำเนินการต่อไป
                สาระสำคัญของเรื่อง
              พณ. รายงานว่า
              1. สถานการณ์การคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในปัจจุบัน
              ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ (sui generis) ที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีเพียงกฎหมายบางฉบับที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะด้าน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหลายหน่วยงาน ได้แก่   1) ด้านศิลปวัฒนธรรม  2) ด้านทรัพยากรชีวภาพ  3) ด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
                2. การคุ้มครองภายใต้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 
              ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงการคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากการสืบทอดกันมา หากจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  ศิลปวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาดังกล่าวต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดจนเข้าข่ายเป็นงานทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา อยู่ระหว่างส่งเสริมให้ได้รับการคุ้มครอง อาทิ
1) ลิขสิทธิ์  2) สิทธิบัตร 3) ความลับทางการค้า 4) สิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ 5) เครื่องหมายการค้า 
                3. การดำเนินการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
                กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ดำเนินการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาต่อยอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้ 1) โครงการประกวดการพัฒนาภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมระดับประเทศ 2) การรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ผลงานศิลป์แผ่นดิน 3) การส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
              4. ความเห็นแนวทางการดำเนินการต่อไป
                      4.1 การคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีความสำคัญทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงมีความเกี่ยวพันกับภารกิจของหลายหน่วยงาน โดยในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ภายใต้ระบบที่แต่ละหน่วยงานกำกับดูแลและเห็นการให้การสนับสนุน ดังนี้
                                       4.1.1 ด้านศิลปวัฒนธรรม
                                     สนับสนุนให้ วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. .... เพื่อคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมหรือมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ศิลปะการแสดงและการดนตรี วัฒนธรรมทางภาษา พิธีกรรม และประเพณีหรือเทศกาล เป็นต้น และดำเนินการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เป็นต้น
                                       4.1.2 ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                     สนับสนุนให้ สธ. โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบในการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และภูมิปัญญาดั้งเดิม ดำเนินการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาแพทย์แผนไทย อาทิ เร่งประกาศกำหนดให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเป็นตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติและตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป  และจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เป็นต้น
                                        4.1.3 ด้านพันธุ์พืช
                                    ส่งเสริมให้ กษ. โดยกรมวิชาการเกษตร  ดำเนินการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชและรับรองพันธุ์พืช ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นและพันธุ์พืชที่ได้ปรับปรุงพันธุ์หรือพัฒนาพันธุ์จนได้พันธุ์พืชใหม่ และการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไทยและพันธุ์พืชป่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เป็นต้น
                                        4.1.4 ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
                                     พณ. โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการนำงานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่ได้รับการพัฒนาและต่อยอดจนเข้าข่ายเป็นงานทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใดประเภทหนึ่งมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์  และนำเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมต่อไป
                     4.2 การแก้ไขปัญหากรณีที่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมไทยไปใช้ประโยชน์ โดยต่างชาติ  เห็นควรมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศหนึ่งต้องรับรองหรือคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมของอีกประเทศหนึ่งเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การจัดทำกลไกทางกฎหมายระหว่างประเทศ และมีผลผูกพันประเทศสมาชิกในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนากฎหมายภายในของแต่ละประเทศ โดย พณ. และ กต. จะได้ร่วมประชุมเจรจาภายใต้ WIPO และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
                      4.3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยในสาขาที่ไทยมีศักยภาพและอยู่ในความสนใจของต่างชาติ ตลอดจนมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถพัฒนาและต่อยอดไปสู่สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย พันธุ์พืช มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยในสาขาต่าง ๆ อาทิ ศิลปะการแสดงและการดนตรี งานช่างฝีมือดั้งเดิม กีฬาภูมิปัญญา พิธีกรรม งานเทศกาล และภาษา เป็นต้น ในชั้นนี้ เห็นควรเร่งสร้างกลไกภายในประเทศที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ อาทิ
                             4.3.1 สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ซึ่งเป็นภารกิจของแต่ละหน่วยงานในปัจจุบัน อาทิ วธ. จัดทำฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สธ. จัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย กษ. จัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาด้านพันธุ์พืช และ ทส. จัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาด้านทรัพยากรพันธุกรรมหรือความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
                             4.3.2 การสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  โดยเฉพาะกลุ่มชุมชนดั้งเดิม ชุมชนท้องถิ่น หรือกลุ่มชาติพันธุ์ ในสาขาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีความเสี่ยงที่จะสูญหาย ถูกฉกฉวย ทำให้เสื่อมเสีย หรือสร้างประโยชน์ในทางการค้าและสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
                             4.3.3. การบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 รวมทั้ง การผลักดันร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. .... ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม วธ. ที่จะมีการนำร่างกฎหมายฯ ฉบับดังกล่าว  เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นต้น

13. เรื่อง การใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ในการป้องกันการทุจริตเป็นโครงการนำร่อง
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2558 ตามที่คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เสนอ ให้นำหลักเกณฑ์วิธีการและแนวทางในการใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ใน 2 โครงการคือ
                1. โครงการจัดซื้อรถโดยสารก๊าซธรรมชาติ จำนวน 489 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
                2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย



ต่างประเทศ

14. เรื่อง การจัดทำความร่วมมือทวิภาคี Joint Crediting Mechanism (JCM) กับประเทศญี่ปุ่น
              คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยในการพัฒนากลไกเครดิตร่วม (JCM) และมอบหมายให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการในรายละเอียดตามกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                สาระสำคัญของโครงการความร่วมมือทวิภาคี JCM มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยมีการประเมินอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนต่อการลดการปล่อยหรือการดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยประเทศพัฒนาแล้วในเชิงปริมาณผ่านทางการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา และใช้ปริมาณการลดการปล่อยหรือการดูดซับเหล่านั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนต่อวัตถุประสงค์สูงสุดของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยเร่งการดำเนินงานลดการปล่อยหรือการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของโลก ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคีนี้ ญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนความรู้ทางเทคนิคและ/หรืองบประมาณบางส่วน (ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ) แก่โครงการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะต้องทำการส่งมอบคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกนี้ในสัดส่วนที่ตกลงกันให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งในการรายงานผลการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของญี่ปุ่นภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2557 มีประเทศกำลังพัฒนาลงนามความร่วมมือในกลไกนี้แล้วทั้งสิ้น 12 ประเทศ ได้แก่ มองโกเลีย บังคลาเทศ เอธิโอเปีย เคนยา มัลดีฟส์ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย คอสตาริกา ปาเลา กัมพูชา และเม็กซิโก ซึ่งในจำนวนนี้ มีประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย และกัมพูชา ส่วนประเทศในภูมิภาคเอเชียที่อยู่ในระหว่างเจรจา ได้แก่ อินเดีย พม่า และไทย

15. เรื่อง  ขออนุมัติการจัดทำและลงนามความตกลงการจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาค สำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
               คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  (กก.) เสนอ ดังนี้
1.  อนุมัติการจัดทำและลงนามความตกลงการจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาคสำหรับการ
ดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (Agreement on the Establishment  of the  Regional  Secretariat for the  Implementation of the ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals) ทั้งนี้  หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ กก. พิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ  แทนคณะรัฐมนตรีโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2.  อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามความตกลงการจัดตั้ง
สำนักเลขาธิการระดับภูมิภาคสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (โดยระบุตำแหน่ง)
3.  อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
ให้ผู้ลงนามที่อ้างถึงข้างต้นในการลงนามความตกลงฯ  
               สาระสำคัญของเรื่อง
1.  ที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556
ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีมติสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาคสำหรับบุคลากรท่องเที่ยวในอาเซียน  โดยเลือกประเทศอินโดนีเซียเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการ
2.  ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว (ASEAN  Tourism
Professionals  Monitoring   Committee : ATPMC)  ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 7-11 ตุลาคม 2557 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์  มีมติให้มีการลงนามความตกลงการจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาคสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่  22-29 มกราคม 2558 ณ กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
3.  ความตกลงการจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาคฯ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการดำเนินการ
ตาม MRA  โดยสนับสนุนการปฏิบัติงาน การบริหารงานและการดำเนินการโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ MRA  โดยสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ประจำที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
3.1      หน้าที่ของสำนักเลขาธิการ ได้แก่  1) เพิ่มความสามารถในการดำเนินการตาม
MRA on Tourism Professionals  รวมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดและการบริหาร  2) พัฒนาระบบลงทะเบียนบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน การจัดการฐานข้อมูล และทรัพยากรบุคคล 3) คิดและแนะนำกลไกในการรับรองและการประเมินผล  4) สร้างความมั่นใจในการนำทรัพยากรมนุษย์เงินและทุนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        3.2 โครงสร้างองค์กร ได้แก่
                                1) คณะมนตรีบริหาร มีหน้าที่วางนโยบายและโครงสร้างองค์กร ให้คำแนะนำ  แผนธุรกิจและงบประมาณประจำปี ตรวจสอบรายได้และทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ของสำนักเลขาธิการ   
                                2) ผู้อำนวยการ  มีหน้าที่บริหารงาน เตรียมแผนธุรกิจและงบประมาณประจำปี รายงานการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัฒนาและดำเนินการตามกลยุทธ์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นที่คณะมนตรีบริหารมอบหมายโดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี
    3) เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ  ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ โดย
สัญญาจ้างมีระยะเวลา 3 ปี และสามารถต่อสัญญาได้ตามความเหมาะสม

16. เรื่อง  บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองปากซอง  แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองปากซอง  แขวงจำปาสัก ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)  ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ  โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับแก้ถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต.  ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                สาระสำคัญของเรื่อง
               กต. รายงานว่า 
                1. โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนานี้  นอกจากจะเป็นการให้ความช่วยเหลือรัฐบาล สปป. ลาว ในการยกระดับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมทั่วถึงยิ่งขึ้น  ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแล้ว  ยังช่วยลดและป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุขต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนเข้ามายังฝั่งประเทศไทย เช่น  การป้องกันโรคติดต่อข้ามแดน  การลดภาระของโรงพยาบาลไทยในการให้การรักษาประชาชน สปป.  ลาว เป็นต้น  อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างไทยกับ สปป. ลาว  ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงและความมั่งคั่งแก่ประเทศไทยและประชาชน  และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศของไทยกับ สปป.ลาว นอกจากนี้ยังจะเป็นโอกาสประชาสัมพันธ์บทบาทด้านการต่างประเทศของรัฐบาลด้วย
                2. ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จัดทำขึ้นในระดับรัฐบาลโดยมีรูปแบบและถ้อยคำที่แสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศแก่คู่ภาคีในการร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสาธารณสุขของกันและกัน  โดยฝ่ายไทยจะให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองปากซองดังกล่าวในแผนงานต่าง ๆ  ซึ่งรวมถึงการกำหนดกรอบความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ  จึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ  และเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)  พ.ศ. 2557 ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนลงนาม  แต่ไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย  หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต    ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง จึงไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องขอรับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรา 23 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ  ฯ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้แจ้งตอบรับการสนับสนุนการให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการตามรายละเอียดในบันทึกความเข้าใจทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว

17. เรื่อง การสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี เพื่อผลักดันการค้าชายแดนไทย - เมียนมา ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบในหลักการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี ทั้งนี้ พณ. เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนการค้าชายแดนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายรัฐบาล โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                2. ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) มอบผู้ว่าราชการจังหวัดตากหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี เพี่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี ในช่วงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและเมียนมาเป็นประธานร่วมในงานมหกรรมการค้าชายแดน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในวันที่ 29 มกราคม 2558
                3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พณ. มท. และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) บูรณาการการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้มีการลงนามสถาปนา Sister City ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย - เมียนมา ครั้งที่ 7 ในเดือนสิงหาคม 2558 ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                4. รับทราบผลการเดินทางลงพื้นที่ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้ข้อมูลจากการลงพื้นที่ดังกล่าวประกอบการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อไป
              สาระสำคัญของเรื่อง
                พณ. รายงานว่า
                1. ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 พณ. มีกำหนดจัดงานมหกรรมการค้าชายแดนระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2558 ณ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างไทย-เมียนมา โดยในช่วงการจัดงานดังกล่าว พณ. ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา (H.E. U Win Myint) เดินทางมาไทยระหว่างวันที่ 27 - 30 มกราคม 2558 เพื่อพบหารือข้อราชการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าพัฒนาความร่วมมือการค้าทวิภาคี โดยเฉพาะการเสนอจัดตั้งคณะกรรมการร่วมการค้าชายแดนไทย - เมียนมา เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการค้าชายแดนของทั้งสองประเทศ พร้อมนี้ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงการจัดงานมหกรรมการค้าชายแดน ณ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้แก่
1) การประกาศร่วมกันระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดตากของไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดีของเมียนมาเกี่ยวกับการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี 2) เป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือการค้าชายแดนของภาคเอกชนของทั้งสองประเทศและ 3) เป็นประธานร่วมเปิดงานมหกรรมการค้าชายแดน เป็นต้น
                2. ผลจากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนแม่สอดและเมียวดีของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้รับทราบว่าการพัฒนาเส้นทางหลักแม่สอด - เมียวดี - กอกะเร็ก จะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเข้าสู่ย่างกุ้งและจะสามารถขนส่งสินค้าได้ทุกวันจากเดิมที่เคยต้องสลับวันไปและกลับ จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้การค้าชายแดนขยายตัวได้เร็วมากขึ้น
                3. เพื่อให้การเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าชายแดนระหว่างเมืองแม่สอดของไทยและเมียวดีของเมียนมาเกิดประโยชน์สร้างความอยู่ดีกินดีเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงเห็นควรสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านชายแดนคู่ค้าสำคัญของไทยกับเมียนมาในช่วงการเดินทางเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ระหว่างวันที่ 27 - 30 มกราคม 2558 ซึ่งเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการและการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พณ. มท. และ กต. พิจารณาดำเนินการร่วมกัน
                4. การสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี
                  4.1 โดยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และจังหวัดเมียวดีของเมียนมามีความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า สังคมและวัฒนธรรมระหว่างกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในด้านการค้าชายแดนผ่านด่านศุลกากรแม่สอด จังหวัดตาก มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดเมื่อเทียบกับด่านศุลกากรอื่น ๆ ระหว่างไทย - เมียนมา โดยในปี 2557 (มกราคม - พฤศจิกายน) ปริมาณการค้ารวมผ่านด่านแม่สอดมีมูลค่า 57,000 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออก 54,300 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 และการนำเข้า 2,700 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13
                     4.2 การสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี จะช่วยเสริมสร้างความใกล้ชิดระหว่างสองเมืองเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นส่วนสำคัญในการขยายตัวทางการค้าชายแดนและการลงทุนระหว่างกัน และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศในภาพรวม รวมทั้งจะสนับสนุนสอดคล้องกับการจัดตั้งนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ.

18. เรื่อง ขออนุมัติร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (JC) ไทย ลาว     ครั้งที่ 19
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (JC) ไทย ลาว ครั้งที่ 19  เป็นกรอบในการหารือ
                2. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกการประชุมในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                สาระสำคัญของเรื่อง
                1. ร่างบันทึกการประชุมดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกันไว้ ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ไข พัฒนาและ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้า เพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์ โดยมีประเด็นสำคัญที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือระหว่างการประชุมฯ ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน การยกระดับจุดผ่านแดน การค้าและการลงทุน การคมนาคมขนส่ง การเชื่อมโยงในภูมิภาค ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เป็นต้น
                2. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับสารัตถะของร่างบันทึกการประชุมฯ อย่างไรก็ดี โดยที่คณะกรรมาธิการร่วม (ฝ่ายไทย) ได้รับการแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ดังนั้น หากเนื้อหาสาระของบันทึกการประชุมฯ อยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการร่วม (ฝ่ายไทย) ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ก็ย่อมกระทำได้
                3. ร่างบันทึกการประชุมเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการประชุมคณะกรรมาธิการดังกล่าว และเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของไทยและ สปป.ลาว ที่จะมุ่งส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ โดยมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีเจตนาที่ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างรัฐบาลภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างบันทึกการประชุมจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.. 2557



แต่งตั้ง

19.  เรื่อง  รัฐบาลรัฐปาเลสไตน์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียว่า รัฐบาลรัฐปาเลสไตน์มีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายอัลวัร เอช. อัลอาฆอ (Dr.Anwar H. Al-Agha) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งรัฐปาเลสไตน์ประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สืบแทน นายอับดุลอะซีซ อะบูฆูช (Mr. Abdulaziz Abughoush) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

20.  เรื่อง  รัฐบาลสาธารณรัฐปานามาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก สาธารณรัฐชิลี ว่า รัฐบาลสาธารณรัฐปานามามีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นางมาริอา เดล การ์เมน มาร์ติเนซ อะโรเซเมนา    (Ms. Maria del Carmen Martinez Arosemena) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐปานามาประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน              นางอัลเดมารา คาเอน เด ไกรน์สกี (Mrs. Aldemara jaen de krainsky) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

21. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง   นายธงชัย ศรีดามา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก           ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

22. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน จำนวนรวม 8 คน เนื่องจากกรรมการชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดวาระ ดังนี้
                1. กรรมการผู้มีความรู้ในการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน 1) นางอรวรณ พงศ์พงัน อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน 2) นายโชคชัย ศรีทอง อดีตรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 3) นางณัฐยา อนุดิษฐ์ อดีตผู้ตรวจราชการกรมการจัดหางาน 4) ร้อยโท ปรีมาวศุต อดิศักดิ์ อดีตแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา 5) นายเกริกศักดิ์ ศักดิ์บดินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ 6) นายสราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
                2. กรรมการซึ่งเป็นนายจ้าง นายวัชรพล บุษมงคล สภาองค์การนายจ้างธุรกิจการค้าและบริการไทย 3. กรรมการซึ่งเป็นลูกจ้าง นายพิชิต พระปัญญา สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งนายโชค บูลกุล ผู้เชี่ยวชาญสาขาบริหารงานบุคคล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร แทน   นางสุชาดา ยุวบูรณ์ ที่ขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

24. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ จำนวน 8 คน ดังนี้ นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม เป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายอนุรักษ์ นิยมเวช พลเอก โสภณ เวคะวากยานนท์ นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ นายศุภชัย จงศิริ นางสุวดี ปาจรียางกูร นายรอม หิรัญพฤกษ์ และนายสุรพันธ์ เมฆนาวิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

25. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการแต่งตั้ง    นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์    (นายอำนวย ปะติเส) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

26. เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการ รวม 2 คณะ คือ คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายสงฆ์ และคณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายฆราวาส โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                1. คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายสงฆ์
                องค์ประกอบ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานที่ปรึกษา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม สมเด็จพระมหามุนีวงศ์       วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส เป็นที่ปรึกษา สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชยชาติการาม เป็นประธานกรรมการ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม พระพรหมสุธี   วัดสระเกศ พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม พระพรหมมุนี     วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระพรหมดิลก วัดสามพระยา พระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์            พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม พระธรรมบัณฑิต วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก โดยมี พระพรหมโมลี       วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ            (ที่ได้รับมอบหมาย) ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม และผู้อำนวยการสำนักงานพุทธมณฑล    เป็นกรรมการและเลขานุการ
                อำนาจหน้าที่
                1) กำหนดนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้เป็นพุทธอุทยาน ศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยและของโลกสืบต่อไป
                2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความจำเป็น
                3) ประสานงานการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ตลอดจนการจัดกิจกรรมระหว่างคณะกรรมการสาขาและอนุกรรมการ ส่วนราชการ สมาคม และเอกชน
                2. คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายฆราวาส
                องค์ประกอบ ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี (ที่กำกับการบริหารราชการหรือที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจ) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   (ที่กำกับการบริหารราชการหรือที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการพระราชวัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมการแพทย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ                รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ที่ได้รับมอบหมาย) ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธมณฑล และผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                อำนาจหน้าที่
                1) กำหนดนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของประเทศและของ  โลกสืบต่อไป

                2) แต่งตั้งคณะกรรมการสาขา อนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความจำเป็น
                3) อนุมัติการดำเนินงานของคณะกรรมการสาขา และอนุกรรมการ
                4) ประสานงานการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ตลอดจนการจัดกิจกรรมระหว่างคณะกรรมการสาขา และอนุกรรมการ ส่วนราชการ สมาคมและเอกชน
*****************

ที่มา: เว็บ นสพ.ไทยรัฐ

โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม